สิ่งที่ทำได้
1.สูบกัญชาได้ ไม่มีความผิดกฎหมายยาเสพติด
2.ขายส่วนของพืชได้ ไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายยาเสพติด แต่การขายเมล็ดพันธุ์และกิ่งต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ.พันธุ์พืช
3.ปลูกกัญชาที่บ้านและทำเชิงพาณิชย์ ได้ แต่ต้องขึ้นทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน ปลูกกัญ หรือเว็บไซต์ของ อย. หรือติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
4.ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อจำหน่ายได้ เฉพาะส่วนที่กำหนดในการประกาศของ สธ. คือ เมล็ดกัญชง, น้ำมันจากเมล็ดกัญชง, โปรตีนจากเมล็ดกัญชง, ลำต้น, เส้นใย, กิ่งก้าน, ราก และใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
สิ่งที่ทำไม่ได้
1.ห้ามใช้สารสกัดสาร THC (สารมึนเมา) ปริมาณเกิน 0.2% กรณีสกัดสารเพื่อจำหน่ายต้องขอ อย. เท่านั้น
2.ห้ามสูบกัญชาในที่สาธารณะ มีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท
3.ห้ามนำเข้าพืชกัญชา ในลักษณะเป็นต้น ยกเว้นเมล์ดพันธุ์
ข้อควรระวัง
สารประกอบในพืชกัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที เอช ซี (THC tetrahydrocannabinol) มีผลกระทบต่อสมองเด็ก สามารถเกิดพิษเฉียบพลันและส่งผลระยะยาว ทำให้เกิดการเสพติดได้ ห้ามใช้ในเด็กและวัยรุ่นช่วงอายุน้อยกว่า 20 ปี ยกเว้น เป็นการใช้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเท่านั้น ผู้ปกครองและเด็ก ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา เช่น ขนม อาหาร อาจจะส่งผลให้มีอาการพิษเฉียบพลันได้
cd.bangpakok3