กัญชา มีสารประกอบกลุ่มแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) อยู่ 2 ชนิดสำคัญ ได้แก่ สาร CBD (Cannabidiol) และสาร THC (Tetrahydrocannabinol)
สาร CBD (Cannabidiol) สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้
ลดความวิตกกังวล ผ่อนคลาย
ลดอาการปวด
ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
ไม่มีผลต่อจิตประสาท และไม่ก่อให้เกิดการเสพติด
สาร THC (Tetrahydrocannabinol) หรือ “สารเมา” เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยสารนี้จะออกมาพร้อมกับสาร CBD ตอนสกัดกัญชา หากร่างกายได้รับสาร THC มากเกินไป อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย
ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ใจสั่น สติแปรปรวน
ประสาทหลอน เกิดภาพหลอน หูแว่ว
หวาดระแวง แพนิค
ความจำระยะสั้นแย่ลง
สมองทำงานแย่ลงโดยกะทันหัน
มีผลอย่างมากต่อระบบสมอง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี โดยมีผลทั้งด้านความจำ และปริมาณเนื้อสมองที่จะลดลงถึง 10%
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคจิตเวช หรือมีประวัติครอบครัว เพิ่มความเสี่ยงเกิดอาการประสาทหลอนอย่างถาวร สูงถึง 20%
อาการดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นแล้ว แม้จะหยุดการบริโภคไปแล้ว อาการก็อาจจะไม่ดีขึ้น โดยพบว่าสาร THC จะตกค้างอยู่ในกระแสเลือดได้นาน 1-7 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณและความถี่ในการบริโภค
กัญชา” กับผลกระทบต่อสมองเด็กและวัยรุ่น
กัญชา ใครบ้างที่ต้องระวัง!
กลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง และเสี่ยงเกิดอันตรายหากบริโภคกัญชาและกัญชง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้หญิงตั้งครรภ์ และคุณแม่ที่ให้นมบุตร เนื่องจากเด็กและเยาวชนมีโอกาสเสพติดกัญชา และยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของสมอง ในผู้หญิงตั้งครรภ์ และคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคด้วยเช่นกัน เพราะส่งผลโดยตรงต่อทารกในครรภ์และผ่านทางการให้น้ำนม
แม้ว่าปัจจุบัน ประเทศไทยจะอนุญาตให้ปลูกตามบ้านได้แล้ว โดยสามารถใช้ส่วนประกอบของพืช ยกเว้น ช่อ ดอก ยาง น้ำมัน ในการทำอาหาร ซึ่งถือเป็นส่วนที่ห้ามใช้เนื่องจากมีสารเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบสมองและหลอดเลือด การนำส่วนใดส่วนหนึ่งของกัญชา กัญชง ไปสกัดเพื่อให้ได้สาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol ยังคงต้องแจ้งขออนุญาตผลิตสกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด (ยกเว้นการสกัดจากเมล็ด) โดยสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2% จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ
กัญชาและกัญชง มีทั้งประโยชน์และโทษ เราควรทำความเข้าใจถึงประโยชน์และโทษในการบริโภค ระมัดระวังในการใช้ความร้อนในการปรุงเพื่อนำมาบริโภค และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะมีประโยชน์ในทางการแพทย์
cd.กระทรวงสาธารณสุข